โมโรเฮยะ ราชาแห่งวิตามิน

โมโรเฮยะ ไร่เคียงน้ำ

ที่ไร่เคียงน้ำเรากำลังทดลองปลูก “โมโรเฮยะ (Moroheiya) ราชาแห่งวิตามิน” ค่ะ

โมโรเฮยะ ถูกขนานนามว่าผักราชาแห่งวิตามิน เพราะผลการศึกษาจาก The Association for Food and Public Health ประเทศญี่ปุ่น พบว่า สารอาหารในผักโมโรเฮยะปริมาณ 100 กรัม อุดมไปด้วยสารอาหารดังนี้ โพแทสเซียม 920 มิลลิกรัม แคลเซียม 410 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.7 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 10.83 มิลลิกรัม วิตามินเอ 4,036 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.72 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 4.95 มิลลิกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผักโขมแล้ว ผักโมโรเฮยะมีปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่าผักโขมถึง 3 เท่า ในขณะที่ปริมาณวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซีของผักโมโรเฮยะยังมีปริมาณมากกว่าแครอท บรอกโคลี และผักโขมรวมกันซะอีก

นอกจากนี้ ผักโมโรเฮยะยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่จะช่วยเปลี่ยนน้ำในกระเพาะอาหารเป็นเจล ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารประเภทโปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำในปริมาณสูงมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าราชาแห่งวิตามิน โมโรเฮยะมีต้นกําเนิดมาจากประเทศอียิปต์ แต่เป็นที่นิยมบริโภคของชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เพราะวิตามินและแร่ธาตุในผักโมโรเฮยะจะช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทํางานได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคและกําจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย นอกจากนี้เส้นใยอาหารของโมโรเฮยะยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความอ้วน ลดเบาหวาน และป้องกันมะเร็งลําไส้ใหญ่

ต้นโมโรเฮยะนี้มีลักษณะคล้ายกับต้นกระเพรา แต่ส่วนโคนของใบจะมีแฉกขนาดเล็กๆ แยกออกมา 2 ข้างคล้ายกับหางของแมลง สามารถปลูกได้ดีในอากาศร้อน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นจะเริ่มมีฝักซึ่งเมื่อแก่จัดอายุประมาณ 6 เดือน จะสามารถเก็บมาใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไปได้ นอกจากโมโรเฮยะแล้วผักพื้นบ้านของไทย เช่น กระถิน กระเทียม มันเทศ ฟักทอง แครอท ผักใบเขียว พริก มะเขือเทศ และ หัวหอม ฯลฯ ก็มีวิตามินและแร่ธาตุ ไม่น้อยไปกว่าโมโรเฮยะ และยังมีคุณค่าทางยาสมุนไพรแฝงอยู่ด้วย

จากคุณค่าและวิตามิน ในผักโมโรเฮยะที่กล่าวมาข้างต้นทําให้ในปัจจุบันมีการนําผักโมโรเฮยะ มาผลิตหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆ มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโมโรเฮยะผสมไชวีส ผงโมโรเฮยะสําหรับทําอาหารและเบเกอรี่ ชาโมโรเฮยะ บะหมี่อบแห้งโมโรเฮยะ คุ๊กกี้โมโรเฮยะ และบิสกิตโมโรเฮยะ วิตามินในโมโรเฮยะหรือผักต่างๆ ถือเป็นสารอินทรีย์ที่สําคัญต่อชีวิต (Vita for life) แม้ว่าร่างกายจะต้องการวิตามินในปริมาณน้อย แต่ก็มีความจําเป็นต่อการทํางานของระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายนับ ตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การนําโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อ และผลิตพลังงานสําหรับดํารงชีวิต วิตามินจึงเป็นตัวจักรเล็กๆ แต่มีความสําคัญยิ่ง ซึ่งร่างกายจะขาดเสียมิได้ และนอกจากความสําคัญของใยอาหารที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าสามารถช่วยรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงและช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกแล้วนั้น ใยอาหาร (fiber) ยังมีคุณประโยชน์กับร่างกายด้านอื่นๆ คุณประโยชน์ของการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง ได้แก่

1. ใยอาหารกับโรคท้องผูก การบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูงจะช่วยลดปัญหาอาการท้องผูก เพราะใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยเพิ่มน้ำหนัก ปริมาณกากอาหารทําให้กากอาหารนุ่มและช่วยลดเวลาที่กากอาหารเคลื่อนที่ผ่านลําไส้ใหญ่ ส่วนใยอาหารที่ละลายน้ำพวกเฮมิเซลลูโลสจะช่วยดูดซับน้ำในทางเดินอาหารทําให้กากอาหารนุ่มและช่วยลดเวลาที่กากอาหารเคลื่อนที่ผ่านลําไส้ใหญ่เช่นเดียวกัน

2. ใยอาหารกับโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลําไส้ใหญ่โดยเฉพาะใยอาหารที่ ไม่ละลายน้ำเช่น รําข้าวสาลี เซลลูโลส

3. ใยอาหารกับโรคอ้วน การบริโภคอาหาร ที่มีใยอาหารมากจะให้พลังงานน้อย อาหารที่มีใยอาหารต่ำโดยเฉพาะน้ำตาล มีผลต่อการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอิ่มได้น้อยมาก เนื่องจากบริโภคง่ายและรวดเร็วทําให้บริโภคได้มาก ใยอาหารช่วยในการลดน้ำหนักได้เนื่องจากใยอาหารที่ละลายน้ำจะกลายเป็นเจ ลเพิ่มความหนืดและการเกาะตัวของสารในกระเพาะอาหารทําให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มเร็วขึ้น และอิ่มนานทําให้กระเพาะอาหารว่างช้าลง

4. ใยอาหารกับโรคไตเรื้อรัง ใยอาหารที่เป็นเฮมิเซลลูโลส สามารถลดระดับสารยูเรีย และสารครีเอตินิน (Creatinine) ในเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ร้อยละ 11-19 และสามารถเพิ่มการขับถ่ายสารไนโตรเจนออกทางอุจจาระได้ร้อยละ 39 ช่วยลดการสังเคราะห์แอมโมเนียได้ถึงร้อยละ 30 และจะช่วยลดอาการยูรีเมีย (uremia) ซึ่งเป็นอาการของโรคไตวาย มีของเสียคั่งในเลือดจนเป็นพิษ จากของเสียนั้น ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ นอกจากโรคที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การบริโภคผักซึ่งมีใยอาหารสูงยังสามารถช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมแลคโตสได้ดีขึ้น

นอกเหนือจากวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารแล้ว ในผักยังมีสารสุขภาพอื่นที่ให้คุณค่าแก่ร่างกาย เช่น น้ำมันระเหยแอนติไบโอติกธรรมชาติ ฮอร์โมน ธาตุสี (pigment) จําพวกคลอโรฟิลล์ ไบโอฟลา-วินอยด์ (bio-flavinoids) โดยคลอโรฟีลเพ็กติน (pectin) และแอนโตไซอันส์ (anthocyans) ช่วยป้องกันร่างกายจากรังสีและสิ่งปนเปื้อนที่มากับอากาศ และชะลอความแก่ได้